ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ของ โคเรียนแอร์คาร์โก เที่ยวบินที่ 8509

อุบัติเหตุครั้งนี้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเครื่องบินลำที่เกิดเหตุมีโลหะยูเรเนียมเป็นตุ้มน้ำหนักส่วนหาง เจ้าหน้าที่ได้เข้าเก็บกวาดบริเวณที่เครื่องบินตกและปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเกษตรตามเดิมโดยมีสภามณฑลเอสเซ็กซ์ควบคุมการดำเนินงาน[6] หนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่เก็บกู้ตุ้มน้ำหนักยูเรเนียมได้ 16 อันจาก 20 อัน[5] ตุ้มน้ำหนักอันที่ 17 ถูกพบในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 และคาดว่าอีก 3 อันที่เหลือน่าจะจมอยู่ในโคลนก้นทะเลสาบที่อยู่ใกล้เคียง[6] ความกังวลเกี่ยวกับยูเรเนียมในส่วนหางของเครื่องบินโบอิง 747 มีที่มาจากเหตุการณ์เครื่องบินบรรทุกสินค้าสัญชาติอิสราเอลของสายการบินแอล อัลชนอาคารพักอาศัยในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อ พ.ศ. 2535[7] อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบวัดค่ากัมมันตภาพรังสีไม่พบการปนเปื้อน[6][5]

ความกังวลอีกประเด็นหนึ่งมาจากพื้นที่เกิดเหตุ จุดที่เครื่องบินตกอยู่ใกล้กับเขตป่าแฮตฟีลด์ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ พื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าวถูกปิดไม่ให้สาธารณชนเข้าจนถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543[13] เนชันนัลทรัสต์ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ดูแลพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญทางสิ่งแวดล้อมและประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักรได้ฟ้องร้องโคเรียนแอร์ต่อศาลเพื่อให้ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อพื้นที่ป่า[13] จากแผนการอนุรักษ์ป่าแฮตฟีลด์ของเนชันนัลทรัสต์ ระหว่าง พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2563 พื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าแฮตฟีลด์จำนวน 4 เฮกตาร์ หรือ 25 ไร่จะยังคงปิดโดยไม่มีกำหนดเนื่องจากความกังวลด้านสุขอนามัย[14]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โคเรียนแอร์คาร์โก เที่ยวบินที่ 8509 http://news.donga.com/3//19991223/7495010/1 http://community.seattletimes.nwsource.com/archive... http://www.ntsb.gov/investigations/AccidentReports... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/575795.stm http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/576544.stm http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/770240.stm http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk_politics/618204.stm https://www.imdb.com/title/tt2015944/ https://www.theguardian.com/uk/1999/dec/23/willwoo...